ขายของออนไลน์ต้องรู้!! จ่ายเงินผ่านเฟซบุ๊กดีจริงหรือ

ขายของออนไลน์ต้องรู้!! จ่ายเงินผ่านเฟซบุ๊กดีจริงหรือ

ระบบการชำระเงินอี-คอมเมิร์ซในประเทศไทย ปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งการจ่ายเงินผ่านหน้าเคาน์เตอร์ธนาคาร จ่ายผ่านตู้เอทีเอ็ม หรือจ่ายผ่านหน้าเว็บด้วยการตัดผ่านบัตรเครดิต จนถึงการจ่ายเงินเมื่อได้รับสินค้า สาเหตุที่ระบบการจ่ายเงินมีหลายรูปแบบ เพราะพฤติกรรมของผู้ซื้อของออนไลน์แตกต่างกันไป

เมื่อเฟซบุ๊กได้นำฟีเจอร์ใหม่ที่เกี่ยวข้องกับระบบชำระเงินเข้ามาใช้ในสังคมออนไลน์ อนาคตจะทำให้การซื้อขายออนไลน์ผ่านเฟซบุ๊กทำได้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น ปลอดภัยขึ้น โดยในปี 2559 มีข้อมูลจาก PayPal และ Ipsos ว่า คนไทยช็อปออนไลน์กว่า 3 แสนล้านบาท/ปี และในปี 2560 คาดว่าจะเพิ่มเป็น 4 แสนล้านบาท/ปี

เฟซบุ๊กกับระบบชำระเงิน

ขายของออนไลน์ต้องรู้!! จ่ายเงินผ่านเฟซบุ๊กดีจริงหรือ

ถ้าเราเป็นพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ และเปิดร้านค้าไว้กับเฟซบุ๊ก ลองสังเกตดูดีๆ จะเห็นว่ามีการแจ้งอัพเดทใหม่ ให้สามารถเรียกชำระเงินจากลูกค้าผ่านเฟซบุ๊กได้โดยตรง โดยเราต้องชำระเงินผ่านแมสเซนเจอร์ของเฟซบุ๊ก เมื่อเราสมัครเข้าใช้ระบบแล้วมันจะตัดผ่านบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตที่เราลงทะเบียนไว้ ถือว่าสะดวกสบายไม่น้อย แต่การมีระบบอะไรก็ตามมันก็มีข้อดีข้อเสียตามมา ลองดูกันครับ

มาสรุปข้อดีกัน

• ตอบโจทย์โซเชียลคอมเมิร์ซ ตลาดในไทยมีนักช็อปผ่านช่องทางอี-คอมเมิร์ซถึง 51% ถือเป็นสัดส่วนที่ใหญ่ที่สุดในโลก การที่เฟซบุ๊กเข้ามาสนับสนุนช่องทางการชำระเงินก็เท่ากับเป็นการตอกย้ำกระแสของโซเชียลคอมเมิร์ซในไทยที่ยังแรงไม่ตก

• สะดวกขึ้น ง่ายขึ้น ถ้าเราซื้อของออนไลน์ผ่านเฟซบุ๊กอยู่แล้ว สามารถตัดเงินผ่านเฟซบุ๊กได้โดยตรง แน่นอนที่สุดว่าเราย่อมรู้สึกสะดวกสบาย ในฝั่งของคนขายก็เช่นกัน ย่อมสะดวกไปด้วยเพราะลูกค้าชำระเงินทันทีให้เราเห็นในระบบชัดเจน และสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ ไม่ต้องมานั่งนับภาพถ่ายรูปสลิปให้ยุ่งยาก


ข้อพึงระวัง

• อันดับแรกคือ "ความปลอดภัย" ของผู้ใช้ ลองคิดดูว่าถ้ามีใครมาแฮ็กเฟซบุ๊กของเราไปมันจะกลายเป็นเรื่องใหญ่มากๆ และหวังว่าเฟซบุ๊กเองจะมีนโยบายความปลอดภัยเป็นพิเศษ

• การตัดบัตรผ่านเฟซบุ๊กโดยตรงนั้น มันไม่ผ่านระบบการเงินแบบเดิมๆ ทำให้อาจเกิดการหลีกเลี่ยงภาษี และการซื้อขายธุรกิจที่ไม่โปร่งใสก็ทำได้ง่ายขึ้น


ผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจและสังคม

• ผลดีด้านเศรษฐกิจก็คือ จะทำให้การทำมาค้าขายออนไลน์สะดวกสบายมากขึ้น และจะถึงขั้นลดการใช้เงินสดลงไปได้มาก ซึ่งก็จะนำไปสู่สังคมไร้เงินสด หรือ Cashless Society นั่นเอง

• เมื่อคนหันมาจับจ่ายซื้อของมากขึ้น โดยเฉพาะผ่านช่องทางออนไลน์ก็จะช่วยให้ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนดีขึ้น คนขายของใช้ต้นทุนต่ำลง เพราะไม่จำเป็นต้องไปเปิดร้านค้าจริงๆ ให้เปลืองค่าเช่าที่

• กระทบภาษีอี-คอมเมิร์ซ การชำระเงินผ่านบัตรเครดิตและบัตรเดบิต จะมีค่าธรรมเนียมต่ำสุด 2.75% และเนื่องจากเฟซบุ๊กมีสำนักงานใหญ่อยู่ต่างประเทศ ทำให้เงินไหลออกนอกระบบ การติดตามเรื่องราวที่เกี่ยวกับภาษีทำได้ยากขึ้น ส่งผลกระทบต่อรายได้ของรัฐบาลที่จะนำมาพัฒนาประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ตรงนี้ก็คงต้องรอความชัดเจนเรื่องภาษีอี-คอมเมิร์ซในเร็วๆ นี้ครับ


แน่นอนว่า หากมีระบบการชำระเงินผ่านเฟซบุ๊ก แล้วมัน ปัง!! หรือเป็นที่นิยมอย่างรวดเร็วย่อมส่งผลกระทบต่อการซื้อขายของรายอื่นๆ ไม่มากก็น้อย เว็บอี-คอมเมิร์ซเองก็ต้องปรับตัวและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง คุณละครับพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนเพื่อพัฒนาธุรกิจอี-คอมเมิร์ซของตัวเองแล้วหรือยัง

ที่มา โพสต์ทูเดย์
โดย ธนาวัฒน์ มาลาบุปผา ECOMMERCE COACH คณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์ สมาคมอีคอมเมิร์ซ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์.

เครดิต :

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
ดูดวง เลขบัตรประชาชน คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์