FACEBOOK จะยุติการใช้ซอฟต์แวร์ จดจำใบหน้า ในภาพถ่าย-วิดีโอ
หน้าแรกTeeNee เทคนิค เคล็ดลับ การใช้ facebook ข่าวล่าสุดเกี่ยวกับเฟสบุ๊ค FACEBOOK จะยุติการใช้ซอฟต์แวร์ จดจำใบหน้า ในภาพถ่าย-วิดีโอ
เฟซบุ๊กประกาศจะไม่ใช้ซอฟต์แวร์จดจำใบหน้าเพื่อระบุใบหน้าในภาพถ่ายและวิดีโออีกต่อไป หลังมีความกังวลมาตลอดมากขึ้นเกี่ยวกับจริยธรรมของเทคโนโลยีจดจำใบหน้า ด้วยคำถามที่เพิ่มขึ้นถึงความเป็นส่วนตัว อคติทางเชื้อชาติ และความแม่นยำ
จนถึงตอนนี้ ผู้ใช้เฟซบุ๊กสามารถเลือกใช้คุณสมบัติที่จะจับใบหน้าของตัวเองในภาพถ่ายและแจ้งผู้ใช้ หากใครบางคนบนแพลตฟอร์มโพสต์รูปภาพที่มีใบหน้าของตัวเอง
เฟซบุ๊กระบุว่า หน่วยงานกำกับดูแลยังไม่ได้กำหนดกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนเกี่ยวกับวิธีการใช้งานซอฟต์แวร์จดจำใบหน้า. ที่ผ่านมา เฟซบุ๊กต้องเผชิญเสียงวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับผลกระทบต่อผู้ใช้
เจโรมา เปเซนตี รองประธานฝ่ายปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) ที่เฟซบุ๊ก โพสต์ข้อความในบล็อกว่า
"ท่ามกลางความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นนี้ เราเชื่อว่าการจำกัดการใช้การจดจำใบหน้าแก่การใช้งานในวงแคบๆ มีความเหมาะสม."
ในปี 2562 การศึกษาของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาชี้ว่า อัลกอริทึมจดจำใบหน้ามีความแม่นยำน้อยกว่ามากในการระบุใบหน้าชาวแอฟริกัน-อเมริกัน และเอเชีย เมื่อเทียบกับใบหน้าของคนผิวขาว. จากการศึกษาของของสถาบันมาตรฐานและเทคโนโลยีแห่งชาติ (National Institute of Standards and Technology), ผู้หญิงแอฟริกัน-อเมริกันมีแนวโน้มที่จะถูกระบุผิดมากกว่า.
เมื่อปีที่แล้ว เฟซบุ๊กยังระงับข้อพิพาททางกฎหมายที่มีมายาวนานเกี่ยวกับวิธีการสแกนและติดแท็กรูปภาพ. คดีดังกล่าวดำเนินมาตั้งแต่ปี 2558 และตกลงกันว่า เฟซบุ๊กจะจ่ายเงิน 550 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แก่กลุ่มผู้ใช้ในรัฐอิลลินอยส์ที่โต้แย้งว่า เครื่องมือจดจำใบหน้าละเมิดกฎหมายความเป็นส่วนตัวของรัฐ.
เฟซบุ๊ก ซึ่งยังเป็นเจ้าของอินสตาแกรม และวอตส์แอปป์ เช่นกัน อยู่ภายใต้แรงกดดันที่เพิ่มขึ้นจากหน่วยงานกำกับดูแลและนักการเมือง. และเฟซบุ๊กกำลังเผชิญกับการตรวจสอบที่เพิ่มขึ้นจากหน่วยงานกำกับดูแล รวมถึงคณะกรรมาธิการการค้าแห่งของสหรัฐ ซึ่งยื่นฟ้องคดีต่อต้านการผูกขาด โดยอ้างว่าเฟซบุ๊กต่อต้านการแข่งขัน.
จนถึงตอนนี้ ผู้ใช้เฟซบุ๊กสามารถเลือกใช้คุณสมบัติที่จะจับใบหน้าของตัวเองในภาพถ่ายและแจ้งผู้ใช้ หากใครบางคนบนแพลตฟอร์มโพสต์รูปภาพที่มีใบหน้าของตัวเอง
เฟซบุ๊กระบุว่า หน่วยงานกำกับดูแลยังไม่ได้กำหนดกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนเกี่ยวกับวิธีการใช้งานซอฟต์แวร์จดจำใบหน้า. ที่ผ่านมา เฟซบุ๊กต้องเผชิญเสียงวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับผลกระทบต่อผู้ใช้
เจโรมา เปเซนตี รองประธานฝ่ายปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) ที่เฟซบุ๊ก โพสต์ข้อความในบล็อกว่า
"ท่ามกลางความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นนี้ เราเชื่อว่าการจำกัดการใช้การจดจำใบหน้าแก่การใช้งานในวงแคบๆ มีความเหมาะสม."
ในปี 2562 การศึกษาของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาชี้ว่า อัลกอริทึมจดจำใบหน้ามีความแม่นยำน้อยกว่ามากในการระบุใบหน้าชาวแอฟริกัน-อเมริกัน และเอเชีย เมื่อเทียบกับใบหน้าของคนผิวขาว. จากการศึกษาของของสถาบันมาตรฐานและเทคโนโลยีแห่งชาติ (National Institute of Standards and Technology), ผู้หญิงแอฟริกัน-อเมริกันมีแนวโน้มที่จะถูกระบุผิดมากกว่า.
เมื่อปีที่แล้ว เฟซบุ๊กยังระงับข้อพิพาททางกฎหมายที่มีมายาวนานเกี่ยวกับวิธีการสแกนและติดแท็กรูปภาพ. คดีดังกล่าวดำเนินมาตั้งแต่ปี 2558 และตกลงกันว่า เฟซบุ๊กจะจ่ายเงิน 550 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แก่กลุ่มผู้ใช้ในรัฐอิลลินอยส์ที่โต้แย้งว่า เครื่องมือจดจำใบหน้าละเมิดกฎหมายความเป็นส่วนตัวของรัฐ.
เฟซบุ๊ก ซึ่งยังเป็นเจ้าของอินสตาแกรม และวอตส์แอปป์ เช่นกัน อยู่ภายใต้แรงกดดันที่เพิ่มขึ้นจากหน่วยงานกำกับดูแลและนักการเมือง. และเฟซบุ๊กกำลังเผชิญกับการตรวจสอบที่เพิ่มขึ้นจากหน่วยงานกำกับดูแล รวมถึงคณะกรรมาธิการการค้าแห่งของสหรัฐ ซึ่งยื่นฟ้องคดีต่อต้านการผูกขาด โดยอ้างว่าเฟซบุ๊กต่อต้านการแข่งขัน.
" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น