กรมสุขภาพจิต ย้ำสื่อใช้ FB Live เสี่ยงเกิดพฤติกรรมเลียนแบบได้

กรมสุขภาพจิต ย้ำสื่อใช้ FB Live ถ่ายสดความรุนแรง ส่งผลกระทบต่อจิตใจประชาชน เสี่ยงเกิดพฤติกรรมเลียนแบบได้

กรมสุขภาพจิต ย้ำสื่อใช้ FB Live เสี่ยงเกิดพฤติกรรมเลียนแบบได้

กรมสุขภาพจิต แสดงความชื่นชม สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ออกหนังสือเตือนสื่อให้รายงานข่าวด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะการรายงานสดผ่านกล้องมือถือ (Facebook Live)

วันที่ 20 พฤษภาคม 2559 กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข แถลงแสดงความชื่นชม ขอบคุณ และสนับสนุน สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยต่อแนวทางการนำเสนอข่าวและภาพข่าวความรุนแรง ที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจสาธารณชน

จากกรณีมีการ “ถ่ายทอดสด” การ ล้อมจับผู้ต้องหา โดยผู้ต้องหาใช้ปืนจ่อศีรษะตนเอง ผ่านทีวี เฟซบุ๊กไลฟ์ รวมถึงช่องทางสื่อออนไลน์ต่างๆ  ซึ่งต่อมา สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้ออกหนังสือเตือนสื่อมวลชนรายงานข่าวด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะการรายงานสดผ่านกล้องมือถือ (Facebook Live) นั้น

กรมสุขภาพจิต โดย อธิบดีกรมสุขภาพจิต คณะผู้บริหาร พร้อมด้วยจิตแพทย์และบุคลากร ขอแสดงความชื่นชมและขอขอบคุณสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยที่ ตระหนักและเห็นความสำคัญของผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับจิตใจของสาธารณชน ซึ่งกรมสุขภาพจิตขอสนับสนุนแนวทางดังกล่าวในการนำเสนอข่าวและภาพข่าวที่ สมาคมได้ประกาศแจ้งขอความร่วมมือไปยังเพื่อนสื่อมวลชนร่วมวิชาชีพ

กรมสุขภาพจิต ขอย้ำว่า การเผยแพร่หรือถ่ายทอดสดความรุนแรง โดยเฉพาะภาพการทำร้ายตัวเอง ผ่านสื่อและช่องทางสังคมออนไลน์  ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นการส่งต่อความน่ากลัวและฉายภาพความรุนแรงซ้ำ อาจก่อให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ที่ต่างก็ย่อมมีวุฒิ ภาวะและความเปราะบางทางจิตใจที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ ยิ่งเป็นการเพิ่มความกดดันให้เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ รวมทั้งเพิ่มความกดดันให้ผู้ก่อเหตุมากยิ่งขึ้น สื่อมวลชนจึงต้องเพิ่มความระมัดระวังและคำนึงถึงผลกระทบในระยะยาวร่วมด้วย

สื่อมวลชนสามารถมีบทบาทในการช่วยป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายได้ ดังนี้

หลีกเลี่ยงการนำเสนอภาพของผู้ตกอยู่ในสภาพท้อแท้สิ้นหวัง หรือลงรายละเอียดของการฆ่าตัวตายและไม่ควรเสนอข่าวเพื่อความตื่นเต้นเร้าใจ ดราม่า ก่อให้เกิดความรู้สึกสะเทือนใจ ซ้ำเติมความทุกข์หรือโศกนาฏกรรมที่มากเกินไป
คำนึงถึงการนำเสนอข่าวที่อาจส่งผลต่อความรู้สึกหรือเกิดผลกระทบในทางลบต่อ ญาติและ   ผู้ใกล้ชิด ไม่ล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
ให้ความรู้ สร้างความตระหนัก เสริมสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ด้านการปรับตัวในชีวิต ตลอดจนสร้างกำลังใจกับผู้ที่กำลังรู้สึกท้อแท้ในชีวิต
การนำเสนอภาพการทำร้ายตนเองในภาพยนตร์หรือละครควรได้รับคำแนะจากผู้เชี่ยว ชาญ และขณะนำเสนอภาพการทำร้ายตนเองควรมีการแจ้งให้ทราบถึงสถานบริการช่วยเหลือ ผู้คิดฆ่าตัวตายและบริการให้คำปรึกษา

เมื่อวันที่ 19 พ.ค.2559 สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้ออกแถลงการณ์เรื่อง การรายงานข่าวล้อมจับผู้ต้องหาฆ่านักวิชาการ มรภ.พระนคร

ระบุว่า เหตุการณ์ล้อมจับผู้ต้องหาฆ่า 2 นักวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร บริเวณโรงแรมสุภาพ ย่านสะพานควาย บ่ายวันนี้ มีผู้สื่อข่าวภาคสนามและสื่อมวลชนประเภทต่าง ๆ รายงานสดออกอากาศผ่านกล้องมือถือ (Facebook Live) โดยมีภาพผู้ต้องหาถือปืนจ่อศีรษะตนเอง ภาพที่เผยแพร่ออกอากาศทางโทรทัศน์และสื่อสังคมในลักษณะดังกล่าว เป็นเหตุการณ์ที่น่าหวาดเสียว และยังอาจเป็นตัวอย่างแก่เยาวชน รวมทั้งก่อนหน้านี้ มีการถ่ายภาพและรายงานทางยุทธวิธีของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการจับกุม ก็ยังมีความเสี่ยงต่อการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจหากผู้ต้องหาขณะอยู่ในรถมี การติดตามข่าวสารที่อาจไปเพิ่มความเครียดให้ผู้ต้องหาอีกด้วย

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ขอแจ้งมายังเพื่อนสื่อมวลชนร่วมวิชาชีพ โปรดใช้ความระมัดระวังในการได้มาและการนำเสนอข่าวและภาพโดยคำนึงถึงความ รู้สึกของสาธารณชน และโปรดหลีกเลี่ยงภาพที่ผู้ต้องหาใช้ปืนจ่อศีรษะ หรือแม้แต่ภาพที่เห็นผู้ต้องหาขณะถือปืน ก็ควรหลีกเลี่ยงด้วยเช่นกัน

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
 
ดูแลกายและใจของตัวเองให้ดีเพราะการติดตามทำข่าวแต่ละครั้งอาจได้รับความ เครียดและความทุกข์ใจได้มาก แม้ว่าจะมีประสบการณ์สูงแล้วก็ตาม จึงอย่าลืมพูดคุย ระบายกับเพื่อนร่วมงาน เพื่อน คนในครอบครัว หรือหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือด้านจิตใจ

ขอบคุณที่มา: thaitribune.org

เครดิต :

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์